เมนู

อรรถกถานิคคหะที่ 3


ครั้นยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์ให้พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะ
ยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์นั้นนั่นแหละให้พิสดาร โดยนัยอื่นอีกมีโอกาส
นัยเป็นต้น ท่านจึงเริ่มคำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ อีกเป็นต้น.
ในนิคคหะที่ 3 นี้ คำถามเป็นของสกวาที. คำตอบรับรองเป็นของ
ปราวที. คำซักถามหมายเอาสรีระในคำว่า ในที่ทั้งปวง อีกเป็น
ของสกวาที. คำปฏิเสธเป็นของปรวาทีเพราะเห็นข้อบกพร่องในการ
พิจารณาเห็นตนในรูปด้วย ข้อบกพร่องที่จะประสบว่า ชีวะก็อย่างหนึ่ง
สรีระก็อย่างหนึ่งด้วย ดังนี้คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบในอนุโลม-
ปัจจนิกปัญจกะ โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในที่นี้
ท่านย่อพระบาลีไว้.
คำที่ท่านกล่าวไว้ในนิคคหะที่ 6 นั้นว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล
ในที่ทั้งปวง ดังนี้ ท่านหมายเอาสรีระ บุคคลนั้นย่อมหยั่งเห็นได้ภาย-
นอกจากสรีระย่อมไม่ถูก เหตุใด เพราะเหตุนั้นในปัจจนิก สกวาทีจึง
ปฏิเสธ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งวาทะอันมีเลศนัยน่า
ท่านรับรองคำแรกแล้วภายหลังย่อมดูหมิ่น ดังนี้. คำที่เหลือปรากฏ
ชัดแล้วนั่นแล.
อรรถกถานิคคหะที่ 3 จบ